รูปแบบการถ่ายทอดลักษณะ
2.การถ่ายทอดลักษณะเด่นที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete dominant) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะโดยยีนเด่นข่มยีนด้อยได้ไม่สมบูรณ์ เช่น การถ่ายทอดสีของดอกลิ้นมังกร
สีของดอกลิ้นมังกรควบคุมด้วยอัลลีลคู่หนึ่ง เมื่อผสมดอกลิ้นมังกรพันธุ์แท้ดอกสีแดงกับพันธุ์แท้ดอกสีขาวจะได้ลูกผสมมีลักษณะสีชมพู แสดงว่าลักษณะดอกสีแดงและสีขาวต่างก็ข่มกันไม่ลง เมื่อนำดอกสีชมพูผสมมาผสมกันเองจะได้ลูกผสมที่มีลักษณะดอกสีแดง 1 ส่วน ดอกสีชมพู 2 ส่วน ดอกสีขาว 1 ส่วน
กำหนดให้ R แทนยีนที่ควบคุม สีแดง
R´ แทนยีนที่ควบคุม สีขาว
อัตราส่วนของ phenotype รุ่น F2 = ดอกสีแดง : ดอกสีชมพู : ดอกสีขาว = 1 : 2 : 1 แสดงว่า R ไม่สามารถข่มการแสดงออกของ R´ ได้อย่างสมบูรณ์ทำให้ R´ มี phenotype ที่แสดงออกมาเป็นลักษณะดอกสีชมพู
3. การถ่ายทอดลักษณะเด่นร่วมกัน (Co - dominant)
การถ่ายทอดนี้ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล ยีนทั้งสองที่ควบคุมลักษณะจะไม่ข่มซึ่งกันและกันแต่สามารถแสดงความเด่นได้เท่าๆกันจึงปรากฏลักษณะออกมาร่วมกัน เช่น
1) การถ่ายทอดลักษณะหมู่เลือดระบบ ABO ถูกควบคุมด้วยยีนซึ่งมีอัลลีลเกี่ยวข้อง 3 อัลลีล คือ IA , I B, i
พบว่าอัลลีล IA และอัลลีล I B ต่างก็แสดงลักษณะเด่นเท่าๆกัน (อัลลีล IA และอัลลีล I B ต่างก็เป็น Co – dominant allele
ส่วนอัลลีล i เป็น recessive allele)
IA IA และ IA i แสดง หมู่เลือด A I B I Bและ I B i แสดง หมู่เลือด B IA I B แสดง หมู่เลือด AB ii แสดง หมู่เลือด O
2) การถ่ายทอดลักษณะหมู่เลือดระบบ MN มียีนควบคุมอยู่ 1 คู่ โดยมี Co – dominant allele M และ N (LM , LN)
ควบคุมการสร้าง antigen M และ antigen N ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงทั้ง LM และ LN แสดงลักษณะเด่นได้เท่าๆ กัน
LM LM แสดงหมู่เลือด M
LN LN แสดงหมู่เลือด N
LMLN แสดงหมู่เลือด MN
การถ่ายทอดลักษณะเด่นเกิน (Over – dominant)
เกิดจากอัลลีลในสภาพ Heterozygous จะแสดงลักษณะที่ปรากฏออกมา (phenotype) เหนือกว่าในสภาพHomozygous เช่น TT (สูง 3 ฟุต ) x tt (สูง 1 ฟุต) ได้ลูกผสม Tt (สูง 5 ฟุต)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น